หนังสือเล่มนี้ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ 1. ภาคทฤษฏี และ 2. ภาคปฏิบัติ ส่วนที่ 1 อธิบายภาคทฤษฏี ซึ่งประกอบด้วย บทที่ 1 ถึง บทที่ 11 โดยกล่าวถึงพื้นฐานสัญญาณดิจิตอลในบทที่ 1 ในบทที่ 2 กล่าวถึงพื้นฐานการคำนวณสำหรับข้อมูลดิจิตอล บทที่ 3 อธิบายหลักการแปลงเลขฐานต่างๆ รวมถึงรหัสฐานสอง บทที่ 4 และ บทที่ 5 อธิบายเกี่ยวกับการออกแบบวงจรรวมสำหรับดิจิตอล บทที่ 6 ประยุกต์ทฤษฏีในบทที่ 1 ถึง บทที่ 5 มาออกแบบวงจรรวมสำหรับวงจรลอจิกโดยใช้มัลติเพิลเอาท์พุต และ ออกแบบวงจรพื้นฐานสำหรับวงจรดิจิตอลในบทที่ 7 สำหรับบทที่ 8 เป็นการออกวงจรดิจิตอลสำหรับการคำนวณเบื้องต้น บทที่ 9 ในองค์ความรู้ในบทต่างๆมาประยุกต์เพื่อออกแบบวงจรซีเควนเชี่ยลและการออกแบบ ชิฟรีจิสเตอร์ และ วงจรนับ สำหรับบทที่ 10 อธิบายวงจรลอจิกแบบสั่งการได้ และ บทที่ 11 อธิบายพื้นฐานการออกแบบหน่วยความจำ ส่วนที่ 2 อธิบายภาคปฏิบัติ ซึ่งประกอบด้วยการทดลองสำหรับวงจรพื้นฐานในการทดลองที่ 1 ถึง การทดลองที่ 9 และ การทดลองที่ใช้วงจรรวมต่างๆ ในการทดลองที่ 10 ถึง การทดลองที่ 16 โดยการทดลองสำหรับวงจรพื้นฐาน เริ่มตั้งแต่การใช้เครื่องมือวัดค่าทางไฟฟ้าเบื้องต้นในการทดลองที่ 1 การทดลองที่ 2 ถึง การทดลองที่ 4 เป็นการอธิบายภาคปฏิบัติสำหรับวงจรลอจิกเกตพื้นฐาน การทดลองที่ 5 เป็นการนำกฎพีชคณิตบูลีนมาทดลองในรูปแบบวงจร การทดลองที่ 6 อธิบายการลดรูปสมการด้วยกฎพีชคณิตบูลีน การทดลองที่ 7 คือ การอธิบายรูปแบบคาโนนิคอล การทดลองที่ 8 เป็นการทดลองเรื่องแผนผังคาร์โน การทดลองที่ 9 ทดลองเรื่องวงจรรวมแบบต่างๆ และ รหัสไบนารี่ การทดลองที่ใช้วงจรร่วมต่างๆ เริ่มจากการทดลองที่ 10 เป็นการศึกษาวงจรสำหรับการแสดงผลด้วยเซเว่นเซกเมนต์ การทดลองที่ 11 และ 12 เป็นการทดลองเรื่องวงจรถอดรหัส และ เข้ารหัส ตามลำดับ การทดลองที่ 13 และ 14 เป็นการทดลองวงจรมัลติเพล็กซ์เซอร์และวงจรดีมัลติเพล็กซ์ ตามลำดับ วงจรคำนวณทางพีชคณิตในการทดลองที่ 15 และ ฟลิปฟลอป ในการทดลองที่ 16 เนื้อหาทั้ง 2 ส่วนทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ จะสอดคล้องซึ่งกันและกัน ถ้าผู้อ่านได้ศึกษาอย่างครบถ้วนจะสามารถเริ่มต้นออกแบบวงจรพื้นฐานดิจิตอล และ ศึกษาทำความเข้าใจวงจรพื้นฐานดิจิตอล และ ถึงการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับการพัฒนาโปรแกรมสำหรับไมโครคอนโทลเลอร์ได้