หน้าหลัก

ในบรรดาการออกแบบที่ซ่อนนัยทางความหมายเอาไว้นั้น ส่วนใหญ่มักปรากฏในพื้นที่ที่เป็นสนามความขัดแย้งทางความคิดระหว่างผู้คนกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม สัมพันธ์แนบแน่นกับพื้นที่ความเชื่ออันศักดิ์สิทธิ์ที่ละเมิดไม่ได้ เป็นพื้นที่ต่อสู้ทางอุดมการณ์ รวมไปถึงพื้นที่อันเต็มไปด้วยผลประโยชน์มหาศาลทางเศรษฐกิจและการเมือง คำถามคือ หากเป็นเช่นนี้จริง เราในฐานะที่ต้องอาศัยใช้สอยในพื้นที่เหล่านี้ทุกเมื่อเชื่อวัน จะทำอย่างไรที่จะสามารถรู้เท่าทัน หรืออย่างน้อยก็ฉุกคิด หรือสามารถตั้งคำถามต่อนัยของสิ่งที่ปรากฏต่อหน้ากับความหมายที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังได้ หนังสือ "สถาปัตย์-สถาปนา : การ(เมือง)ดีไซน์พื้นที่และความนัยสถาปัตยกรรม" เล่มนี้ ได้รวมบทความจากคอลัมน์พื้นที่ระหว่างบรรทัด ในมติชนสุดสัปดาห์ของ "ชาตรี ประกิตนนทการ" เน้นเรื่องพื้นที่ (Space) และความหมายนัยซ่อนเร้น แฝงฝังด้วยอุดมการณ์ในสถาปัตยกรรมที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะพาท่านผู้อ่านไปค้นหาความหมายของพื้นที่รอบ ๆ ตัว ทั้งถนน ตึก บ้านเรือน อนุสาวรีย์ ย่านการค้า วัด และพื้นที่สาธารณะในสังคมไทย พร้อมทั้งเปิดเปลือยการออกแบบพื้นที่ความเชื่อ และอุดมการณ์ในสถาปัตยกรรมภายใต้สภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมืองของรัฐไทย

วันที่เผยแพร่
สำนักพิมพ์
หมวดหมู่
สถาปัตยกรรม
จำนวนหน้า
version 1.0.5-c9d4d5b7